วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

บทที่2 ความคิดสร้างสรรค์

ความหมายและความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ต่อการอกแบบ

หมายถึง ความคิดหรือการปฏิบัติมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือสร้างขึ้นใหม่ต่างไปจากสิ่งเดิมที่เป็นอยู่ และสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นต้องเป็นไปในทางดีงาม ” อาจารย์อารี สุทธิพันธุ์ ได้เขียนไว้ในหนังสือ เรื่อง “ ศิลปะที่มองเห็น ” ว่า “ ความคิดสร้างสรรค์เป็นความอยากอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่ติดตัว มาตั้งแต่เกิด อยากทำให้แปลกไปจากเดิม อยากแสดงออกให้แปลกไปจากที่เคยเห็น อยากเป็นคนดัง อยากสร้างสิ่งใหม่ ๆ อยากทำให้มีประโยชน์มากจากที่เคยทราบและอยากคิดอะไรใหม่ ๆ
คำว่า “ ความคิดสร้างสรรค์ ” อาจจะแยกออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือความคิดที่เกิดจากสมองซึ่งมีลักษณะ นามธรรม เช่น ความคิดที่จะประดิษฐ์สินค้าใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำรูปแบบสินค้าอื่นในตลาด ส่วนที่สอง คือสร้างสรรค์เกิดตามหลัง ความคิดมาหมายถึง การทำสิ่งที่คิดไว้ออกมาให้เห็นปรากฏเป็นรูปร่าง อาจกล่าวได้ว่า การสร้างสรรค์เป็นลักษณะ ของรูปแบบ
รวมความแล้วจึงอาจสรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดที่ดัดแปลงจากของเดิมหรือดัดแปลงจาก สิ่งที่มี อยู่แล้ว แล้วนำมา สร้างสรรค์ปฏิบัติแสดงออกมาให้เป็นผลงานที่ดี บรรจุความคิดใหม่ เป็นรูปทรงใหม่หรือมีหน้าที่ใหม่ หรือนำไปใช้ในแง่ใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมได้ หรือเป็นการสร้างชิ้นงานขึ้นใหม่ให้ดีกว่าที่มีอยู่เดิม
ความคิดสร้างสรรค์เป็นบุคลิกนิสัยอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากวิธีการเลี้ยงดูในบ้านกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน การ ใช้ชีวิตในสังคม มีความสำคัญและมีประโยชน์กับคนทุกคน ถ้าพิจารณาในแง่นามธรรม คือ การสร้างสรรค์ทางความคิด ในตัวของมันเอง ก็จะพบว่าคนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้น จะเป็นผู้มีคุณสมบัติที่ดี มีพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่ดี เช่น เป็นผู้ที่เปิดใจกว้างขวางยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ ไม่ได้นึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูกเสมอ ไม่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางใน การพิจารณาคนอื่น ชอบเก็บสะสมความรู้ หมั่นค้นคว้าวิจัยสืบสวนหาความจริงในสิ่งต่าง ๆ เป็นคนที่มีเหตุผลและคุณสมบัต ิเหล่านี้ก็จะส่งผลและคุณสมบัต ิเหล่านี้ก็จะส่งผลให้เจ้าของประสบผลสำเร็จในชีวิต
นอกจากในด้านนามธรรมแล้ว ในทางรูปแบบ ความคิดสร้างสรรค์ที่ปรากฏเป็นผลงานปฏิบัติอาจพิจารณาได้ใน 2 แง่มุม คือ ความคิดสร้างสรรค์ทางความงาม และความคิดสร้างสรรค์ทางประโยชน์ใช้สอย สำหรับแง่มุมแรก ก็ทำ ประโยชน์ทางด้านจิตใจให้ผู้คนเห็นได้ชื่นชมในงานศิลปะ ที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่แปลกใหม่ ส่วนในแง่มุมที่สองเป็น ประโยชน์ใช้สอยได้โดยตรง ทำให้เกิดเป้าหมายในการซื้อขาย ามคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบ

ระดับความคิดสร้างสรรค์และขั้นตอนการสร้างความคิดส้างสรรค์

1. ความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะการแสดงออก ในขั้นนี้จัดได้ว่าเป็นขั้นเบื้องต้น ซึ่งความเชี่ยวชาญชำนาญยัง ไม่ใช่ เรื่อง สำคัญที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าจะเปรียบเหมือนกับการวาดภาพของเด็ก ๆ การแสดงออกถึงจินตนาการหรือ เรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นโลกแห่งความฝันโลกที่เราสมมุติขึ้น คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในขั้นนี้ จะปล่อยให้จิตใจและ จินตนาการ เป็นอิสระ ไม่มีขอบเขตจำกัด
2. ความคิดสร้างสรรค์ในด้านการผลิต ในขั้นนี้จะเป็นความคิดสร้างสรรค์ซึ่งแสดงออกถึงความชำนาญใน สายงานอาชีพของตน ถ้าจะยกตัวอย่างในงานวงการออกแบบโฆษณาก็หมายความว่า นักออกแบบผู้นั้นสามารถแต่ง ขัดเกลางานซึ่ง มาจากจินตนาการของตนในขั้นที่หนึ่งให้เป็นที่เข้าใจ และยอมรับในหมู่ของผู้คนที่ทำงานในแวดวง เดียวกันได้
3. ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ อาจกล่าวได้ว่า ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในขั้นนี้เป็นนักประดิษฐ์ สามารถ นำเอาแนวความคิดเก่ามาหาทางใช้ได้ในวิธีการใหม่ ๆ คือ ความคิดพื้นฐานเดิมนั้น ยังคงอยู่ไม่มีสิ่งใหม่ในแนวคิด แต่ความ สามารถที่มองเห็นสำหรับนักประดิษฐ์ก็คือ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือ
4. ความคิดสร้างสรรค์ในด้านการแสวงหาแนวทางใหม่ โดยไม่ติดอยู่กับความคิดเดิมสำหรับขั้นนี้ศิลปิน ผู้มี ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงความคิดสามารถของเขาในเชิงนามธรรม เขาจะหลีกลี้ไปจากโลกของความจริง พวกนี้อาจ จะได้แก่ กลุ่มนักคิดในสำนักการออกแบบแนวใหม่
5. ความคิดสร้างสรรค์ในขั้นสูงสุดคือ ผู้คิดสร้างหลักเกณฑ์ใหม่โดยสิ้นเชิง ศิลปินกลุ่มนี้จะเป็นผู้มีความสามารถ สูงในศิลปะที่แสดงออกในด้านนามธรรม เป็นพวกที่อาจจะตั้งกลุ่มนักคิดสำนักใหม่ในด้านการออกแบบขึ้นมาให้ สังคม ได้


การสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ 4 ขั้นตอน

1. ขั้นเตรียมการ เป็นการเปิดตัวเองต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับงานของเขาทั้งหมด เช่น สมมุติว่าเป็นการใช้ ความ คิด สร้างสรรค์ในงานการออกแบบโฆษณา เขาก็จะต้องเปิดตัวเอง ศึกษาเรื่องลูกค้า สินค้าที่จะโฆษณา สื่อที่จะใช้ ผู้ที่เขาคาดว่าจะเป็นผู้ดูโฆษณาของเขา และผลงานการออกแบบของนักออกแบบตลอดจนวิธีทำงาน วิธีแก้ปัญหาของนัก ออกแบบคนอื่น
2.ขั้นต่อไปก็เป็นขั้นเพาะความคิด คือ ปล่อยให้จิตใต้สำนึกได้คิดสำรวจทบทวนวัตถุดิบทั้งหลายที่ได้จับมา ประสานย่อยซึมเข้าหากันในขั้นเตรียมการขั้นแรก
3. ขั้นที่สาม ก็จะเป็นการค้นหาคำตอบ วิธีการแก้ปัญหาจนมุม บางครั้งคำตอบอาจจะเกิดแจ่มขึ้นมา ในดวงความ คิดเหมือนมีแรงบันดาลใจในระยะเวลาสั้น ๆ ก็ได้ พอจะทำให้หลับตามองเห็นรูปร่างหน้าตาของผล งานตนเองว่าจะออกมา ในรูปใด
4. สุดท้ายเป็นขั้นปฏิบัติการลงมือทำให้สำเร็จ โดยพยายามรักษาคุณภาพของแนวคิดของตัวเอง เอาไว้ ให้ได้ ตลอดในขณะที่ลงมือแปลงความคิดจากสมองมาเป็นการปฏิบัติด้วยมือ หมายความว่าในขณะนั้นเขาจะต้องทำ การสื่อสาร สื่อความหมาย ความคิดของเขาออกมาในรูปผลงานให้ปรากฏ

หลักเกณฑ์การออกแบบทั่วไปมีดั้งนี้

1. ส่วนสัด

2. ความสมดุล


3. ความแตกต่าง

4. ลีลา

5. ความมีเอกภาพ

6. ความผสมกลมกลืน

7. การจัดวางรูปร่าง

4. การใช้ภาพประกอบ

4.1 หลักในการฝช้ภาพประกอบ

4.2 การใช้ภาพตัดตก

4.3 ขนาดของภาพ

4. บังภาพ

4.5 การคัดเลือกภาพ

4.6 การจัดภาพขนาดเล็ก

4.7 การเร้าความสนใจ

4.8 ทำให้ส่วนสำคัญของภาพเป็นที่น่าสนใจ

5. การใช้สีในการพิมพ์


ไม่มีความคิดเห็น: