วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

บทที่ 3 โปรแกรมสำหรับสิ่งพิมพ์

1.รูปแบบโปรไฟล์กราฟิก
ไฟล์กราฟิกแบ่งเป็นหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันมากในงานกราฟิกสำหรับเว็บไซต์ เช่น GIF และ JPEG สำหรับงานพิมพ์ เช่น TIFF, EPS และ PDF
กราฟิกสำหรับงานเว็บไซต์
GIF (Graphic Interchange Format)
รูปแบบไฟล์ GIF ได้รับการออกแบบโดย CompuServe ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายข่าวสารแบบออนไลน์ เพื่อให้ บริการแลกเปลี่ยนกราฟิกในรูปแบบ bitmap ที่มีการจัดการทางด้านหน่วยความจำที่มีประสิทธิภาพ ข้อจำกัดของภาพแบบ GIF คือ ความสามารถทางด้านสีซึ่งเป็นแผงสีแบบอินเด็กซ์ (ภาพสีแบบ 24 บิตไม่สามารถใช้ได้) แผงสีสามารถบรรจุได้ 2 ถึง 256 สี ซึ่งถูกสร้างจากข้อมูลสี 24 บิต ไฟล์แบบ GIF ถูกบีบขนาดโดยใช้การบีบขนาด LZW แบบประยุกต์ การขยายไฟล์ข้อมูลแบบ GIF กลับคืน จะช้ากว่าการบีบขนาดแบบ RLE แต่จะเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำน้อยกว่า
รูปแบบไฟล์ GIF เป็นภาพซึ่งใช้สีจำกัด (ไม่เกิน 256 สี ไม่ใช้ทั้งหมดของสเปกตรัมสีที่แสดงได้บนมอนิเตอร์) เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการไฟล์ขนาดเล็ก โหลดเร็ว ไฟล์แบบนี้จึงเหมาะกับงานที่ใช้สีแบบ solid color เช่น โลโก้ หรือ ภาพแบบ Illustration
Graphic Interchange Format นามสกุลที่ใช้เก็บ GIF ระบบปฏิบัติการ Windows, Windows NT เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน 87a และ 89a ซอฟต์แวร์ที่สร้าง และเปิดไฟล์ โปรแกรมการแก้ไข bitmap ทุกโปรแกรม , โปรแกรม Desktop Publishing เช่น PhotoShop, CorelDRAW, PaintShop Pro, ACDSee 32 ความสามารถทางด้านสี แผงสีแบบอินเด็กซ์ถึง 256 สี (วาดจากสี RGB แบบ 24 บิต) การบีบขนาดข้อมูล LZW การใส่รหัสแบบ run-length
JPEG (Joint Photographic Experts Group)
มาตรฐานการบีบขนาดแบบ JPEG ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใดๆ โดยเฉพาะ แต่ได้นำเสนอ วิธีการบีบขนาดที่สามารถใช้ทั่วๆ ไปหลายวิธี ดังนั้นจึงมีการบีบขนาดหลายวิธีที่เกิดขึ้นมา โดยใช้มาตรฐานการบีบ ขนาดแบบ JPEG การบีบขนาดด้วยวิธีนี้ช่วยลดขนาดของภาพกราฟิกและประหยัดเวลาในการโหลดได้มาก เหลือเพียง หนึ่งในสิบของภาพเดิม และบางครั้งสามารถลดขนาดลงได้มากถึง 100 ต่อ 1 JPEG เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในภาพประเภทภาพถ่าย (โทนสีต่อเนื่อง) เนื่องจากใช้สีทั้งสเปกตรัมสี ที่มีในมอนิเตอร์ และเป็นไฟล์ประเภทที่ถูกบีบอัดให้เล็กลงเพื่อให้โหลดเร็วขึ้นเช่นเดียวกับ GIF โดยการตัดค่าสี ในช่วงที่ ตามองไม่เห็นทิ้งไป แต่เมื่อบันทึกไฟล์เป็น JPEG แล้ว ข้อมูลสีที่ถูกตัดทิ้งไปจะไม่สามารถเรียกกลับมาได้อีก ถ้าต้องการ ใช้ค่าสีเหล่านั้นในอนาคต ควรจะบันทึกเป็นไฟล์ชนิดอื่น แล้วเปลี่ยนเป็นไฟล์ JPEG ด้วยการบันทึกเป็นไฟล์ก็อปปี้
Joint Photographic Experts Group นามสกุลที่ใช้เก็บ JPG หรือ JIF (JPG + TIFF) ระบบปฏิบัติการ Windows ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมการแก้ไขภาพ Bitmap และโปรแกรมการแปลงรูปแบบ เช่น PhotoShop, CorelDRAW, PaintShop Pro, ACDSee 32 ความสามารถทางด้านสี 2, 16, 256 สี หรือ 16 ล้านสี และความลึกสีแบบ 32 บิต
2.กราฟิกสำหรับงานพิมพ์
กราฟิกสำหรับงานพิมพ์
TIFF (Tagged Image File Format)
TIFF เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับ bitmap เท่านั้น พัฒนาขึ้นโดยความร่วมของ Aldus Corporation และ Microsoft TIFF เก็บบันทึกข้อมูลรูปภาพได้หลากหลายใน Tagged Field จึงกลายเป็นชื่อเรียกของรูปแบบไฟล์ ซึ่งแต่ละ Tagged Field สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ bitmap หรือชี้ไปยัง Field อื่นได้ ซอฟต์แวร์ที่อ่านไฟล์นี้ สามารถข้ามการอ่าน Field ที่ไม่เข้าใจหรือไม่จำเป็นไปได้
TIFF เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เนื่องจากมี Tagged Field ให้ใช้ต่างกันหลายร้อยชนิด ไฟล์แบบนี้จึงมีข้อดี คือ ใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกประเภท สามารถใช้ได้ในระบบ คอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบ และกำหนดขอบเขตที่กว้างขวางของภาพ bitmap ได้ นอกจากนี้ TIFF ยังสามารถ ทำบางสิ่งที่ bitmap อื่นทำไม่ได้ และเป็นรูปแบบที่สนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh
Tagged Image File Format นามสกุลที่ใช้เก็บ TIF ระบบปฏิบัติการ Windows, UNIX, Mac Windows เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน 5.0 และ 6.0 ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Bitmap และโปรแกรม Desktop Publishing เช่น PageMaker, QuarkXPress, CorelVentura, PhotoShop, PaintShop Pro ความสามารถทางด้านสี ขาวดำ 1 บิต , Grayscale (4,8, 16 บิต) , แผงสี (ได้ถึง 16 บิต) , สี RGB ( ได้ถึง 48 บิต) , สี CMYK ( ได้ถึง 32 บิต) การบีบขนาดข้อมูล LZW, PackBits (Macintosh), JPEG (TIFF v 6.0), RLE หลายรูปแบบ
EPS (Encapsulated PostScript)
EPS เป็นเซตย่อยของภาษาสั่งการในการจัดหน้าแบบ PostScript ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้อย่างแพร่หลายในการ แลกเปลี่ยนรูปแบบภาพกราฟิก ไฟล์แบบ EPS สามารถบรรจุภาพที่ซับซ้อนและมีรายละเอียดอย่างสูงทั้งในรูปแบบ Vector และ Bitmap โดยใส่ไว้ในโปรแกรมการแก้ไข Vector และโปรแกรม Desktop Publishing กราฟิกแบบ EPS มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ จะต้องพิมพ์ออกในเครื่องพิมพ์แบบ PostScript เท่านั้น เพราะเครื่องพิมพ์ ไม่สามารถแปลรหัสการพิมพ์ PostScript ได้
Encapsulated PostScript นามสกุลที่ใช้เก็บ EPS ระบบปฏิบัติการ Windows, Windows NT, UNIX, Mac Windows เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน EPS เป็นเซตย่อยของ Adobe PostScript ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Vectorและโปรแกรม Desktop Publishing เช่น AutoCAD, CorelDRAW, PageMaker, QuarkXPress, Adobe Illustrator ความสามารถทางด้านสี ขยายได้ถึง 24 บิต RGBและ HSB 32 บิต , CMYK, Grayscale, แผงสีแบบอินเด็กซ์ การบีบขนาดข้อมูล การใส่รหัสแบบไบนารี
PDF (Portable Document Format)
PDF เป็นรูปแบบไฟล์ที่ใช้ในโปรแกรม Adobe Acrobat ใช้สำหรับเอกสารบนสื่ออิเล็คทรอนิกส์ เช่น บนอินเทอร์เน็ตหรือบริการออนไลน์ต่างๆ เนื่องจากเป็นไฟล์ขนาดเล็กทำให้สามารถสร้างเอกสาร เช่น โบร์ชัวร์ หรือ แค็ทตาล็อกส่งไปทางอินเทอร์เน็ตได้ ใช้ได้กับทั้งแบบ Bitmap และ Vector และสนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh PDF เหมาะสำหรับเอกสารทางเทคนิคที่จะเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ผู้อ่านสามารถพิมพ์ออกมาได้หรือเรียกดูได้โดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะรูปแบบอักษรที่ใช้ประกอบอยู่ในตัวซอฟต์แวร์แล้ว และเนื่องจากใช้ตัวอักษรแบบ PostScript ซึ่งเป็น vector-based จึงสามารถย่อและขยายได้ตามต้องการ โดยคุณภาพของงานไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งยังสามารถนำ ไปสร้างเป็นเอกสาร แบบ Illustration หรือ Bitmap ได้อีกด้วย และเมื่อพิมพ์ออกมาก็จะไม่เสียคุณภาพ ไม่ว่าจะใช ้ค่าความละเอียดของภาพเป็นเท่าใด เช่นเดียวกับไฟล์ประเภท Vector อื่นๆ เช่น PS หรือ PRN นอกจากนี้ PDF เป็นไฟล์ที่ประกอบด้วยข้อมูล PostScript จึงสามารถนำไปใช้ในโปรแกรมตกแต่งแก้ไขภาพ หรือ โปรแกรมประเภท Illustration ได้เช่นเดียวกับ EPS
Portable Document Format นามสกุลที่ใช้เก็บ PDF ระบบปฏิบัติการ Windows, Mac OS, UNIX และ Dos ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ PhotoShop, Acrobat ความสามารถทางด้านสี RGB, Indexed-Color, CMYK, GrayScale, Bitmap และ Lap Color
3.โปรแกรม Adobe Illustrator
สิ่งที่อยากแนะนำเป็นเรื่องแรกก็อยากจะแนะนำเครื่องมือของโปรแกรมซึ่งถ้า ใช้ไปบ่อยๆก็จะสามารถจำได้โดยที่ไม่ต้องมานั่งจดนั่งจำครับ
Selection tool เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยเรื่องการเลือกวัตถุ ประกอบไปด้วย
Selection tool ( ลูกศรสีดำ)ใช้เลือกวัตถุทั้งชิ้น
Direct-selection tool ( ลูกศรสขาว)ใช้เลือก points หรือ path ของวัตถุ (กดคีย์ Alt)
Magic wand tool ( ไม้เท้าวิเศษ)เป็นเครื่องมือใหม่ ใช้เลือกวัตถุที่มีสีเดียวกัน การใช้งานเหมือนใน Photoshop ( กดคีย์ Alt และ Shift)
Lasso tool ใช้เลือกโดยการคลิกเมาส์ Drag การใช้งานเหมือนใน Photoshop ( กดคีย์ Alt และ Shift)
Create tool เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยการสร้าง objects ไม่ว่าจะเป็นเส้น รูปทรงต่างๆ และตัวหนังสือ
Pen tool สร้างเส้น parth อย่างแม่นยำ โดยการใช้แขน มีผลทำให้ object มีจุดน้อย-น้อยมาก ส่วนเครื่องมือย่อยจะเอาไว้ใช้ปรับแต่ง curved ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจุด ลบจุด หักแขนของแกนเส้นสัมผัส (กดคีย์ Alt)
Type tool ใช้พิมตัวหนังสือ ข้อความต่างๆ ส่วนเครื่องมือย่อย ก็ง่ายๆตามรูป ใช้พิมพ์ตัวหนังสือให้อยู่ในกรอบบ้าง ทำตัวอักษรวิ่งตาม paths บ้าง ซึ่งผมจะไม่อธิบายมากเพราะ ไอคอนก็ง่ายต่อการจดจำอยู่แล่ว
Line segment tool อันนี้ไว้ลากเส้นตรง ในรายละเอียดของเครื่องมือย่อยก็ไม่มีอะไรมาก เช่นไว้ทำขดก้นหอย ทำ grid ของตารางหมากรุก grid แบบใยแมงมุม
Basic shape tool เอาไว้วาดรูปทรงพื้นฐาน 3-4- หลายเหลี่ยม และวงกลม shape รูปดาว แต่ที่เด่นที่สุดคือ flare tool ใช้สร้างเอฟเฟค lens-flare ( กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Paintbrush tool แปรงที่เอาไว้สร้างเส้น parth โดยการ drag เมาส์ลากอย่างอิสสระ สามารถใช้ brush แบบพิเศษ (กดคีย์ Alt)
Pencil tool จะคล้ายๆ paintbrush tool แต่จะมีเครื่องมือย่อยให้เรียกใช้ในการแก้ไขเส้น ซึ่งจะช่วยในการปรับแต่งแก้ไข และทำให้งานดูดี+เร็วขึ้น (กดคีย์ Alt)
Transform tool เครื่องมือกลุ่มนี้ใช้ในการปรับแต่งรูปทรงของวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นหมุน เอียง บิด กลับด้าน ย่อ ขยาย นอกจากนี้ยังมีเอฟเฟคต่างๆด้วย
Rotate tool ใช้ในการหมุนวัตถุ โดยการกำหนดจุดหมุนก่อนแล้วจึงทำการหมุน ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าต้องการหมุนกี่องศา ( กดคีย์ Alt)
Reflect tool ใช้ในการกลับด้านของวัตถุ (กดคีย์ Alt)
Twist tool ใช้ในการบิดวัตถุ โดยการกำหนดจุดก่อนแล้วจึงทำการบิด ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าต้องการบิดมากน้อย (กดคีย์ Alt)
Scale tool ปลับย่อขยายวัตถุ (กดคีย์ Alt และ Shift)
Shear tool ใช้เอียงวัตถุ (กดคีย์ Alt)
Reshape tool ใช้เพิ่มจุด และดึงยืดวัตถุ
The warp tool ใช้โน้มวัตถุให้บิดเบี้ยว (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Twirl tool ทำให้วัตถุบิดตามจุดที่กำหนด (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Pucker tool ดึงดูดจุดให้เข้าสู่จุดศูนย์กลาง (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Bloat tool ทำให้วัตถุแบออก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Scallop tool ดึงวัตถุให้เข้าศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก ( กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Crystallize tool ขยายวัตถุให้ออกจากศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Wrinkle tool สร้างคลื่นให้วัตถุ (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Free transform tool ย่อ ขยาย หมุน เอียง วตถุ โดยอิสระ
Special tool เป็นเครื่องมือใหม่ที่จัดการเกี่ยวกะ Symbol และ graph
Symbol tool ใช้จัดการเกี่ยวกับ symbol ซึ่งมีเครื่องมือย่อยมากมาย แต่จะไม่ขอกล่าวถึง เพราะเครื่องมือแต่ละชิ้นมีไอคอนที่ง่ายต่อการเข้าใจอยู่แล้ว ขอให้ทดลองนำไปใช้เอง แล้วจะเข้าใจว่า tool แต่ละชิ้นใช้ทำอะไรได้บ้าง (กดคีย์ Alt)
Graph tool ใช้สร้าง graph ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจ และจะไม่ขอกล่าวถึงเช่นกัน (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Paint color tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้จัดการเรื่องของสี
Mesh tool เป็นเครื่องมือสีที่เจ๋งสุดขีด(แต่ควบคุมยากเหมือนกัน)โดยการสร้าง point และมีแกนในการควบคุม (กดคีย์ Alt และ Shift)
Gradient tool เครื่องมือไล่ระดับสี ซึ่งมีการไล่ระดับอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ Linear และ Radial ใช้การลากจากจุดเริ่มต้น และ สิ้นสุดที่จุดปล่อยเมาส์ ในการควบคุมการไล่ระดับของสี (กดคีย์ Shift)
Eyedropper tool หลอดดูดสี ใช้ copy สีของวัตถุ สามารกำหนดได้ด้วยว่าจะ copy ลักษณะอย่างไร อะไรบ้าง (กดคีย์ Alt และ Alt+Shift) Paint bucket tool ส่วนใหญ่จะใช้ควบคู่กับ eyedropper tool ใดยใช้เทสีลงบนวัตถุ (กดคีย์ Alt)
Measure tool เครื่องมือวัดขนาด (กดคีย์ Shift)
Blend tool เครื่องมือไล่ระดับการเปลี่ยนรูปร่างและสี สามารถควบคุมการไล่ระดับได้ 3 ชนิด
Auto trace tool ใช้ในการ trace จากภาพต้นฉบับที่เป็น bitmap ไปเป็น Vector ซึ่งเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับคนขี้เกียจโดยเฉพาะ
View tool กลุ่มเครื่องมือกลุ่มนี้จะเน้นที่มุมมองเป็นหลัก
Slice tool ใช้เกี่ยวกับการตัดแบ่งภาพออกเป็นส่วนๆ ใช้ในงานเวบ
Scissors tool ใช้คลิกบริเวณ outine ของวัตถุเพื่อกำหนดจุดตัด 2 จุดเพื่อแยกวัตถุออกจากกัน (กดคีย์ Alt)
Knife tool ใช้ drag ลากผ่านวัตถุเพื่ออแยกวัตถุออกจากกันเป็น 2 ส่วน โดยจะทำการ close paths ให้เราโดยอัตโนมัติ (กดคีย์ Alt)
Hand tool ใช้เลื่อนดูบริเวณพื้นที่การทำงานบนหน้าจอ (กดคีย์ Spacebar)
Page tool ใช้กำหนด print size
Zoom tool ใช้ย่อ และ ขยายพื้นที่การทำงาน (กดคีย์ Ctrl+Spacebar และ Ctrl+Alt+Spacebar)
4.โปรแกรม Adobe Photoshop
โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างงานกราฟิคที่นิยมกันที่สุดในโปรแกรม ต่างๆโดย โปรแกรม ฯ สามารถสร้างงานกราฟฟิคออกมาได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นสร้างแบบ อักษรลักษณะต่างๆ และอีกทั้ง ยังนิยมมาแต่งภาพอีกด้วย โปรแกรมนี้จะมี Plug - in ซึ่งช่วยสร้าง Effect ต่างๆ ทำให้ได้ชิ้นงานที่ไม่ซ้ำกัน และอีกทั้งยังสร้างความโดดเด่นให้กันงานอีกด้วยในบท เรียนจะเป็นการแนะนำโปรแกรมฯ อย่างคร่าวๆ
ส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม Adobe Photoshop ส่วนต่างคร่าว ๆ ก็จะมี 4 ส่วนด้วยกันดังนี้
ส่วนที่ 1.
เรียกกันว่า Menu bar เป็นส่วนที่แสดงชื่อเมนูต่างๆ ของโปรแกรมก็จะประกอบด้วย File , Edit , Image , Layer , Select , Filter , View , Window , Help 1.File หมายถึง คำสั่งเกี่ยวกับการจัดเก็บและเรียกใช้ไฟล์รูปภาพต่างๆ 2.Edit หมายถึง คำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขลักษณะของรูปภาพและ Image ต่างๆ 3. Image หมายถึง คำสั่งการจัดการรูปภาพและ Image ต่างเช่น การเปลี่ยนสีและการเปลี่ยนขนาด 4. Layer หมายถึง ชั้นหรือลำดับของรูปภาพและวัตถุที่เราต้องการจะทำ Effects 5. Select เป็นคำสั่งการเลือกพื้นที่หรือส่วนต่างของรูปภาพและวัตถุในการที่จะเล่น Effects ต่างๆ 6. Filter เป็นคำสั่งการเล่น Effects ต่างๆสำหรับรูปภาพและวัตถุ 7. View เป็นคำสั่งเกี่ยวกับมุมมองของภาพและวัตถุในลักษณะต่างๆ เช่น การขยายภาพและย่อภาพให้ดูเล็ก 8. Window เป็นส่วนคำสั่งในการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆที่จำเป็นในการใช้สร้าง Effects ต่างๆ 9. Help เป็นคำสั่งเพื่อแนะนำเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมฯและจะมีลายละเอียดของโปรแกรมอยู่ในนั้น
ส่วนที่ 2.
คือส่วนของอุปกรณ์ต่างที่เราใช้ในการสร้างชิ้นงานต่างหรือใช้ใน การตกแต่งภาพส่วนวิธีการใช้เราสอนในบทเรียนต่อไปในกราเรียก อุปกรณ์เราสามารถเรียกได้โดยมาที่ window ---> Show Tools เมื่อเราคลิ๊กที่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งค้างใว้ก็จะเห็นอุปกรณ์นั้นจะมี หลายแบบให้เราเลือกโดยการสังเกตจากเครื่องหมายจุดสามเหลี่ยม บนตัวอุปกรณ์ และเมื่อดับเบิ้ลคลิ๊กก็จะปรากฏ Option ของอุปกรณ์นั้นขึ้นมา จะมีให้เลือก Option ต่างๆ
ส่วนที่ 3. เป็นส่วนของพื้นที่ของไฟล์ใหม่ที่เราจะมาเริ่มต้นการสร้างชิ้นงานเราสามารถสร้างโดยคำสั่ง File --> New
เมื่อสร้างไฟล์ใหม่ก็จะปรากฏขึ้นมาดังภาพ. ก็จะมี Name = การตั้งชื่อหัวข้อเหนือไฟล์ Image Size = ขนาดความสูงความกว้างของ พื้นที่ Mode = เป็นการกำหนด Mode สีถ้า เป็นมาตรฐานจะเป็น RGB Color Contents ก็จะเป็นลักษณะพื้นหลังก็จะมี White ( สีขาว) , Background Color ( สีที่เรากำหนด) , Transparent ( สีพื้นแบบ - โปร่งใส , ไม่แสดงสีพื้นโล่ง)
ส่วนที่ 4.
อุปกรณ์ควบคุมลำดับชั้นการทำงานของรูปภาพและวัตถุ
เมื่อเปิดโปรแกรมฯ ขึ้นมาก็จะพบอุปกร์นี้จะเรียกกันว่า Layer Layer เป็นอุปกรณ์คุมควบลำดับชั้นของ Image เมื่อเรานำ Image มาวางซ้อนกันหลายๆอันก็จะเกิด Layer ขึ้นมาเราสามารถ ตั้งชื่อ Layer นั้นได้และสลับ Layer ได้จะมี Backgound อยู่ด้าน ล่างสุดเสมอ...
Feature ใหม่ของ Photoshop 7.0 และ Image Ready 7.0 อย่างที่ทราบกันดีนะครับ ว่าเมื่อเราลงโปรแกรม Photoshop แล้ว ก็จะมีโปรแกรม Image Ready แถมมาให้ด้วย แต่หลาย ๆ คนคงจะจำกันได้ ว่าเวอร์ชั่นล่าสุดเป็นเวอร์ชั่น 3.0 แต่จากหัวข้อพิมพ์ว่า Image Ready 7.0 คงจะสงสัยกันบ้างว่าผมพิมพ์ผิดหรือเปล่า ไม่ผิดหรอกครับ ทาง Adobe ยืนยันมาแน่นอนแล้วว่า เป็นเวอร์ชั่น 7.0 จากตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมากมายนี้ แสดงว่าต้องมีอะไรเพิ่มเติมพิเศษอย่างมโหฬารเป็นแน่แท้ แต่อดใจไว้ก่อนครับ เราค่อย ๆมาดูกันว่า Feature ใหม่ ๆ มีอะไรกันบ้าง
เลือกรูปภาพ และ จัดการกับไฟล์รูปภาพได้อย่างรวดเร็ว ในที่สุด Adobe ก็เห็นความสำคัญของการค้นหาภาพในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยฟังก์ชั่นการค้นหาในตัวเองเสียที จึงได้สร้าง File Browser ในตัวที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้คุณค้นหาภาพ โดย ชื่อไฟล์ , เวลาที่เซฟและปรับปรุง โดยรูปภาพจะแสดงในรูปแบบของ Thumbnail ง่ายต่อการมอง นอกจากนี้คุณยังสามารถจัดการ หรือเรียกดูไฟล์จาก ฮาร์ดดิสก์ , ฮาร์ดดิสก์แบบต่อพ่วง , CD หรือ แผ่นดิสก์ ภายใน File Browser ตัวใหม่นี้คุณสามารถดูข้อมูลต่าง ๆ ของรูปภาพได้เช่น วันที่สร้าง , วันที่แก้ไขครั้งล่าสุด และ ข้อมูลแบบ EXIF (Exchangeable Image File) ซึ่งเป็นข้อมูลจากกล้องดิจิตอล สำหรับการจัดการกับไฟล์นั้นก็ได้แก่ การหมุนภาพ , การเปลี่ยนชื่อไฟล์ , การจัดแบ่งประเภท , การย้าย หรือ สับเปลี่ยนตำแหน่งของไฟล์ ซึ่งการจัดการนี้จะเหมือนกับการกระทำใน โฟลเดอร์เลย
หน้าต่างของ File Browser หน้าต่างของ File Browser จะประกอบไปด้วยสี่ส่วน คือ
The tree view ส่วนนี้จะเอาไว้สำหรับเลือกโฟลเดอร์ หรือ ไดรฟ์ ที่ต้องการ
The thumbnail pane ส่วนนี้จะแสดงภาพ thumbnail ที่อยู่ในโฟลเดอร์ที่เราเลือก โดยรูปแบบของ thumbnail นั้นจะมีอยู่ห้าอย่างคือ ขนาดเล็ก , ขนาดกลาง , ขนาดใหญ่ , ขนาดใหญ่พร้อมทั้งประเภทของภาพ และสุดท้ายคือ มีรายละเอียดต่าง ๆ ประกอบด้วย การเลือกให้แสดง thumbnail ขนาดเล็ก จะสามารถแสดงภาพในโฟลเดอร์ได้มากที่สุด ขนาดกลางและขนาดใหญ่ก็จะสามารถ แสดงภาพได้น้อย ลงมาตามลำดับ สำหรับแบบโชว์รายละเอียดก็จะโชว์รูปได้น้อยที่สุด แต่จะมีข้อมูลของรูปที่ละเอียดที่สุด คือ มีชื่อไฟล์ , วันที่สร้าง , วันที่แก้ไขครั้งล่าสุด , ข้อมูลแสดงลิขสิทธิ์ , Format ของไฟล์ , โหมดสี , ขนาดของภาพ (เป็นพิกเซล) , ขนาดของไฟล์ และประเภทของภาพที่เรากำหนดไว้
The Preview Pane ส่วนนี้ก็จะแสดงภาพที่มีขนาดใหญ่กว่า thumbnail โดยจะแสดง
ภาพที่ถูกเลือกเพียงภาพเดียว
The Metadata Pane ส่วนนี้จะแสดงข้อมูลของภาพที่เลือกนอกเหนือจากที่แสดงใน thumbnail Pane เช่น keyword ที่เกี่ยวข้องกับรูปที่ถูกเลือก เช่น คำอธิบาย , ความละเอียด และ Bit Depth ( ไม่รู้ว่าภาษาไทยเขาว่างัยนะครับ แต่หมายถึง bit ของภาพ เช่น ภาพ 8 bit , 16 bit , 32 bit เป็นต้นครับ) และก็ยังมีข้อมูลแบบ EXIF อีกด้วย ซึ่งเป็นข้อมูลจากกล้องดิจิตอลที่ถ่ายภาพนั้น ใน EXIF ก็จะมีข้อมูลอย่างเช่น วันที่ถ่าย , รูรับแสง , ขนาดของภาพ และความละเอียด
ใน Metadata Pane File Browser คุณสามารถเลือกดูข้อมูลทั้งหมดก็ได้ หรือว่าจะแสดงแต่ ข้อมูล EXIF จากกล้องดิจิตอล เช่น บริษัทกล้อง , รุ่น เวลาที่ถ่าย และอื่น ๆ การแบ่งประเภท ภายใน File Browser คุณสามารถที่จะกำหนด ความสำคัญให้แก่รูปภาพได้เพื่อที่ จะได้สะดวกในการค้นหา หรือแยกรูปออกเป็นกลุ่ม ตัวอย่างเช่นคุณอาจจะแบ่งภาพของคุณ ออกเป็น ภาพที่จะทำการปรู๊ฟ ( การตรวจสอบชิ้นงานในขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะพิมพ์งาน) และภาพในขั้นตอนสุดท้าย พร้อมพิมพ์ ซึ่งจะทำให้ในการค้นหา ภาพตามประเภทแบบนี้จะทำได้ง่ายกว่า
จัดเรียงภาพได้ตามใจปรารถนา เพิ่มเติมจากการจัดแบ่งประเภทแล้ว File Browser ยังอนุญาตให้คุณค้นหาภาพ จากชื่อไฟล์ , ความกว้างและความยาวของภาพ , ขนาดของไฟล์ , ชนิดของไฟล์ ความละเอียด , ข้อมูลสี ( Color Profiles) , วันที่สร้าง , วันที่แก้ไขครั้งล่าสุด และ ข้อมูลแสดงลิขสิทธิ์ และเพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งานมากขึ้นคุณสามารถดูไฟล์ต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์การเรียงลำดับ จากมากไปน้อย หรือ จากน้อยมาหามากก็ได้ เมื่อทำการค้นหาภาพโดยการเลือกจากขนาดไฟล์ จากน้อยไปหามาก คุณจะได้ไฟล์ที่มีขนาด เล็กที่สุดอยู่บนด้านบนสุดของรายการ และภาพที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก็จะถูกจัดไว้ด้านท้าย ๆ
จัดการโฟลเดอร์และไฟล์ สร้าง , เปลี่ยนชื่อ และลบโฟลเดอร์ เปิด , ย้าย , ก็อบปี้ และเปลี่ยนชื่อ ไฟล์ภาพทั้งหลาย จากตัว File Browser ได้เลย อีกทั้งยังสนับสนุนการเปลี่ยนชื่อไฟล์ได้ทีละหลาย ๆ ไฟล์อีกด้วย
การหมุนภาพ หมุนภาพ 90 องศา ตามเข็ม หรือ ทวนเข็มนาฬิกา หรือ หมุน 180 องศา โดยสนับสนุนการหมุน ทีละหลาย ๆ ไฟล์ด้วย
Healing Brush
ด้วยความสามารถของเครื่องมือใหม่ Healing Brush Tool คุณก็จะสามารถลบรอยขีดข่วน , รอยเปื้อน , รอยยับ , ย่น , เม็ดเกรน และรอยต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยลบได้ตามใจชอบเลย ไม่เหมือนการใช้ฟิลเตอร์ซึ่งจะมีผลกับทั้งภาพ แต่เครื่องมือตัวนี้เราจะลบตรงไหนก็ได้ และไม่เหมือนกับเครื่องมือ Clone Stamp ( แต่เดิมนั้นการรีทัชภาพ ลบริ้วรอยต่าง ๆ จะนิยมใช้เครื่องมือ Clone Stamp) เพราะว่า Healing Brush จะยังคงรักษาแสงเงา , ลวดลาย และคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาพไว้ ในขณะที่ Clone Stamp จะทำการก็อบปี้ทุกอย่างจากภาพที่เป็นต้นฉบับไปสู่ภาพที่แก้ไข ซึ่งก็จะทำให้แสงเงา และลวดลายผิดเพี้ยนไปจากเดิม ก็ต้องตามไปแก้ไขทำให้งานยากขึ้น และเสียเวลามากขึ้น อีกประการหนึ่ง ด้วยความสัมพันธ์ของ Patch Tool ซึ่งเป็นเครื่องมือใหม่อีกตัวที่ จะช่วยลบรองรอยต่าง ๆ เป็นวงกว้างขึ้นโดยการทำงานร่วมกับ Selection โดยการใช้ Selection Tools อะไรก็ได้ หรือจะเลือกจาก Channel ทำการเลือกในครั้งแรก จากนั้น โปรแกรมก็จะลบร่องรอยต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ที่เลือกไว้ โดยการผสมผสานแสงและเงาของพิกเซลเดิม แล้วแปลงออกมาเป็นภาพใหม่ที่ดีกว่าสร้างไฟล์บนเว็บได้อย่างง่ายดาย Photoshop และ ImageReady จะช่วยให้คุณดูรูปภาพในแบบที่นำไปใช้บนเว็บได้โดยง่าย คุณสามารถที่ จะปรับแต่งภาพโดยเฉลี่ยระหว่าง คุณภาพของภาพ กับ ขนาดของไฟล์ได้ก่อนที่จะทำการเซฟเป็นไฟล์ที่ใช้บนเน็ต ซึ่งจะ ช่วยให้คุณทั้งประหยัดเวลาและไม่ต้องทำอะไรมากเลย
Remap Transparencies Photoshop และ ImageReady สามารถสร้างภาพโปร่งใส ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่คลิ๊กที่สีที่คุณต้องการให้โปร่งใส โดยคุณสามารถเลือกได้มากกว่าหนึ่งสี ภายในการทำงาน ครั้งเดียว หรือเมื่อไม่พอใจก็สามารถ ยกเลิกได้อย่างง่ายดายอีกเช่นกัน
ตัวอย่าง ขอบสีฟ้าของภาพต้นฉบับ (ภาพบน) ถูก Remapped Transparency ( ภาพล่าง) โดยการคลิ๊กที่สีฟ้า ใน Color table แล้วคลิ๊กอีกทีที่ปุ่ม Map to transparency
Dither Transparency ด้วยความสามารถใหม่ใน Photoshop และ ImageReady นี้ คุณสามารถทำ ให้ภาพบางส่วนโปร่งใสได้ โดยใช้หลักการเดียวกันกับการสร้างสีในไฟล์ที่ใช้งานบนเว็บในปัจจุบัน เมื่อใช้คุณสมบัติ Dither Transparency ภาพบนเว็บของคุณจะดูเหมือนไม่มีรอยต่อ และจะกลมกลืนไปกับภาพ Background แม้แต่ภาพ Background ที่เป็นลวดลายก็เช่นกัน
ภาพและ ตัวอักษรที่ใช้บนเว็บจะยังคงคมชัดอยู่ เมื่อคุณทำการเซฟไฟล์สำหรับใช้บนเว็บ คุณสามารถที่จะเลือกให้ ภาพที่เป็นเว็คเตอร์ และตัวอักษรยังดูคมชัดอยู่ได้ โดยโปรแกรมจะลำดับความสำคัญกับส่วนเหล่านี้ก่อนที่อื่น ดังนั้นภาพ ที่เซฟไปใช้กับเว็บ จะมีขนาดไฟล์ที่ลดลงแต่คุณภาพของส่วนที่เป็นเว็คเตอร์ และตัวอักษรจะยังคมชัด ไม่เบลอ หรือมี คุณภาพต่ำ ส่วนส่วนอื่น ๆ ในภาพก็จะมีคุณภาพลดลงตามที่คุณกำหนดดูภาพสำหรับอุปกรณ์ไร้สาย Photoshop และ ImageReady มีความสามารถใหม่ให้คุณดู และ เซฟภาพในฟอร์แม็ต WBMP ซึ่งเป็นไฟล์ภาพที่ใช้แสดงบน PDA และอุปกรณ์ไร้สายอื่น ๆ
สร้าง Rollover ได้ง่าย ๆ ใน ImageReady เวอร์ชั่นก่อน ๆ คุณจะไม่สามารถมองเห็น Rollover , ภาพเคลื่อนไหว , สไลด์ หรือ Image Map ที่อยู่ในเว็บเพจเดียวกันได้ แต่สำหรับเวอร์ชั่นใหม่คุณจะได้เห็นทุก ๆ อย่างที่อยู่ใน เว็บเพจเดียวกันได้ ด้วย Rollover Palette ด้วย Palette เดียวนี้ คุณสามารถดู , แก้ไข , เพิ่ม Layer-based rollover ได้ง่าย ๆ โดยการคลิ๊กแค่ปุ่มเดียว
สร้างเว็บเพจแบบมืออาชีพ Select State ใน ImageReady 7.0 อนุญาตให้คุณสร้างสรรค์เว็บเพจให้มีความน่าสนใจมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีคู่มือเขียน JavaScript แต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น คุณสามารถสร้าง Navigation Bar โดยผสมกับ Rollover Effect ได้
กำหนดพื้นที่ทำงาน ด้วยฟังก์ชั่นใหม่ ในการสร้างพื้นที่ทำงาน ของ Photoshop 7.0 คุณสามารถที่จะปรับแต่ง Desktop ให้เป็นส่วนตัวได้ ด้วยการจัดวาง Palette ได้ตามชอบใจ และเซฟเก็บไว้ใน Workspace เพื่อเอาไว้ใช้งานต่อไป ด้วย Preset ใน Workspace ผู้ใช้ทุกคนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน สามารถปรับแต่ง desktop ของตัวเองได้ และเก็บไว้ใช้เมื่อถึงคราวทำงานของตนเอง หรือในอีกกรณีหนึ่งคุณอาจจะสร้าง preset workspace ของคุณเองเพื่อไว้ใช้กับงานต่าง ๆ โดยเฉพาะ เช่น workspace สำหรับสร้างงานภาพเขียน และ workspace สำหรับงานรีทัชปรับแต่งเครื่องมือของคุณ Photoshop 7.0 อนุญาตให้คุณปรับแต่งเครื่องมือต่าง ๆ โดยการเซฟเครื่องมือที่คุณชอบใช้เป็นเครื่องมือพิเศษ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกใช้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถกำหนดให้เครื่องมือ Crop ตัดภาพที่ขนาด 4 x 6 นิ้ว หรือ 5 x 7 นิ้ว ที่ความละเอียดแตกต่างกัน หรือ คุณอาจจะสร้าง Brush ขึ้นมาอันหนึ่ง และเซฟไว้ใน Tool preset ในการเรียกใช้ และปรับแต่งเครื่องมือนั้นก็ใช้ได้ทันทีจาก Tool Option Bar หรือจาก Tool Preset Palette ซึ่งเป็น Palette ใหม่ ที่ช่วยให้คุณดู Preset ของเครื่องมือต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ ได้อย่างสะดวกปรับแก้สีให้ถูกต้องโดยอัตโนมัติ Photoshop นั้นเป็นโปรแกรมที่ให้ความสำคัญ กับความถูกต้องของสี และเป็นผู้นำในเรื่องของเครื่องมือ การแก้ไขค่าสี เสมอมาในเวอร์ชั่น 7 นี้ก็เช่นกัน ได้เพิ่ม Auto Color Command ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้แก้ไขค่าสีให้ถูกต้องที่ไว้ใจได้ที่สุด
ภาพก่อนการปรับแต่ง (ซ้ายมือ) มีสีที่ค่อนข้างเหลืองอยู่ ภายหลังการใช้คำสั่ง Auto Level ( ภาพกลาง) ความต่างของสี ( Contrast) ก็ถูกปรับปรุง แต่ค่าสีเดิมยังอยู่ คำสั่ง Auto Color ( ภาพขวามือ) จะลบสีที่ค่อนข้างเหลืองนั้นออก และนำค่าสีที่ถูกต้องของภาพนั้นกลับมา
ประหยัดเวลาด้วย Data-Driven Graphic Variable Feature ความสามารถใหม่ใน Image Ready 7.0 จะช่วยให้คุณเตรียมการทำสำเนางานอาร์ตเวริคได้โดยอัตโนมัติ ด้วย Data-Driven Graphic คุณสามารถที่จะสร้าง Template ที่สวยงามโดยจำกัด Objects ต่าง ๆ ภายใน Template ให้เป็นตัวแปร ยกตัวอย่างเช่น แบนเนอร์ของเว็บ อาจจะถูกใช้ตัวแปรเพื่ออ้างอิงถึง ชื่อผลิตภัณฑ์ และ สัญลักษณ์ของบริษัท ข้อมูลต่าง ๆ ก็สามารถดูได้โดยตรงจาก ImageReady เลย เครื่องมือสร้างเว็บและเขียนสคริปต์ต่าง ๆ เช่น Golive หรือ ซอฟต์แวร์ Dynamic Image Server อย่าง AlterCast สามารถที่จะลิงค์ตัวแปรเหล่านี้กับข้อมูลที่เก็บไว้ใน ฐานข้อมูล ODBC ได้ เพื่อที่จะจัดการกับตัวแปรได้อย่างไม่มีขีดจำกัด สร้างผลงานอันวิจิตรด้วย Paint Tool Paint engine ตัวใหม่จะช่วยให้คุณสร้างงานแบบใหม่ที่ไม่เคยทำได้มาก่อนใน Photoshop ด้วยเทคนิค การใช้สีแบบต่าง ๆ เช่น Pastel และ Charcoal พร้อมด้วย พู่กันแห้ง และเปียก หรือจะใช้ Brush เพื่อเพิ่มเติม เทคนิคพิเศษ เช่น กระจก หรือ ใบไม้ หรือจะสแกนกระดาษ หรือ ผ้าใบเข้าไปเพื่อสร้างลายผืนผ้าใบที่แตกต่างกว่าเดิม หรือคุณจะใช้ลวดลายผ้าใบที่มีอยู่ในโปรแกรมเองอยู่แล้วก็ได้ ในการสร้างงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ให้เป็นจริงขึ้นมาได้นั้น Painting engine ได้เตรียมตัวควบคุมโดยละเอียดไว้ให้คุณ ได้ใช้ คือ Brush Palette คุณสามารถปรับค่าต่าง ๆ ได้ถึง 12 ค่า ได้แก่ รูปร่าง , ความเอียง , ระยะห่าง , การสาดสี , การสะบัดพู่กัน , เส้นผ่านศูนย์กลาง , ลวดลาย , เงา และคุณสมบัติอื่น ๆ และสามารถเซฟค่าที่ตั้งไว้นั้นเป็น Brush Preset ได้ นอกจากการปรับค่าต่างๆ แล้ว Paint engine ยังสามารถทำอะไรที่เหนือไปกว่านั้นได้อีก ด้วยการผสม Brush สองชนิดเข้าด้วยกัน หรือ การควบคุมการลงน้ำหนักของ Brush รวมถึงการปรับมุมเอียงของ Airbrush ด้วย thumb wheel featureBrush Palette จะช่วยให้คุณดูภาพตัวอย่าง brush อย่างเช่น Flowing Star Brush พร้อมทั้งตัวเลือกต่าง
ด้วย Pattern Maker ปลั๊กอินตัวใหม่ คุณสามารถสร้าง ลวดลาย ( Pattern) ได้ง่าย ๆ ด้วยการเลือกรูปภาพ ที่ต้องการ และจากขอบเขตที่คุณเลือกไว้ ปลั๊กอินจะสร้าง Pattern ใหม่ขึ้นมาจากภาพนั้นให้ ด้วยความสามารถของการ วิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ Pattern ที่สร้างนั้นแทบจะไม่มีลวดลายที่ซ้ำของเดิม และ ไม่มีรอยต่อให้เห็นเมื่อ นำมาเรียงต่อกันอีกด้วย คุณสามารถสร้างลวดลายแนวเหนือจริง หรือ ภาพนามธรรม ( Abstract) จากภาพธรรมดาเช่น ต้นหญ้า , หิน , เปลือกไม้ หรือ ทราย โดยกำหนดขนาดของ Pattern ได้เอง หรือว่าคุณอาจจะสร้างตาราง ( tile) ที่ใหญ่กว่า จากตารางอันเล็กกว่าก็ได้ ด้วยเครื่องมือตัวนี้คุณสามารถสร้าง พื้นหลังเว็บ , พื้นของงานพิมพ์ หรือนำไปประยุกต์ใช้ ได้อย่างหลากหลายไม่ซ้ำใครเพียงแค่ทำการ Selection แล้ว ใช้ปลั๊กอิน Pattern Maker คุณก็จะได้ Pattern สวยๆมาใช้แล้ว สำหรับภาพตัวอย่างนี้ เริ่มต้นด้วยภาพขนาด 244 x 66 พิกเซล และสร้าง ตารางที่ขนาด 600 x 900 พิกเซล Liquify ปลั๊กอินที่พัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม Liquify เป็นปลั๊กอิน Photoshop ที่มีมาตั้งแต่เวอร์ชั่น 6.0 แล้ว ปลั๊กอินตัวนี้มีความสามารถในการบิด งอ เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ของรูปภาพไปตามทิศทางต่าง ๆ ได้ แต่เนื่องจากการใช้งานยาก ประกอบกับปลั๊กอิน KPT 6 Power Goo ซึ่งทำงานได้เหมือนกัน แต่มีประสิทธิภาพมากกว่า ผู้คนจึงหันไปใช้ KPT Goo กันมากกว่า แต่มาคราวนี้ Adobe ได้ปรับปรุงปลั๊กอินตัวนี้ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น (แต่ไม่ยืนยันว่าใช้ง่าย หรือเปล่านะครับ) สิ่งที่เพิ่มเติมให้แก่ปลั๊กอินตัวนี้ก็ได้แก่ เครื่องมือ Zoom , Pan ( การหมุนเปลี่ยนมุมมองของกล้อง) และการยกเลิกการทำงานแบบหลายขั้นตอน ( Multiple Undo) และด้วยความสามารถในการเซฟโครงสร้างเอาไว้ ทำให้คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่คอมพิวเตอร์ของคุณได้ โดยการทดลองปรับแต่งกับไฟล์ขนาดเล็ก (เพื่อไม่ให้ CPU ต้องประมวลผลหนัก) เสร็จแล้วคุณก็เซฟสิ่งที่ทำไว้นั้นแล้วมาประยุกต์ใช้กับชิ้นงานจริง ประหยัดเวลาไปได้มากโขเลยล่ะครับ หรือคุณจะเอามาใช้กับภาพอื่นที่ไม่ใช่ภาพเดิมก็ยังได้ จากนั้นก็คอยดูผลลัพธ์ ถ้าไม่ชอบใจก็ยังสามารถออกจากปลั๊กอิน แล้วกลับมายังภาพเดิมก่อนใช้ปลั๊กอินได้ สะดวกดีใช่ไหมล่ะครับ และด้วย Turbulence Brush ตัวใหม่ (เครื่องมือใน Liquify นะครับ อย่าเข้าใจผิด) คุณสามารถที่จะบิด งอ ภาพเพียงบางส่วน หรือทั้งภาพเลยก็ยังได้ และคุณก็ยังสามารถเลือกที่จะให้แสดงภาพพื้นหลังเป็นภาพเดิม หรือ เลเยอร์อื่น ๆ ที่ประกอบในภาพนั้น เพื่อจะทำการเปรียบเทียบก็ยังได้ ( ฟังก์ชั่นนี้มีประโยชน์มากเลยล่ะครับ) ด้วย Feature ใหม่ Backdrop ใน ปลั๊กอิน Liquify จะช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งภาพในเลเยอร์หนึ่ง โดยสามารถดูภาพอีกเลเยอร์หนึ่งเพื่อเปรียบเทียบได้ด้วย
ทำงานด้วยความสะดวกสบายมากขึ้น เพราะ Photoshop มีตัวควบคุมการเข้ารหัส ที่ดีสำหรับภาพ และ output อื่น ๆ คราวนี้คุณก็ไม่ต้องกังวลใจ อีกต่อไปเมื่อจะทำการส่งต่อไฟล์นี้ให้เพื่อนร่วมงาน หรือ ผู้อื่น เข้ารหัสภาพเสียก่อนจะแจกจ่าย โปรแกรม Photoshop นั้นสามารถทำงานร่วมกับ โปรแกรม Acrobat 5.0 ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในการรักษาความปลอดภัย คุณจึงสามารถ ที่จะใส่ password หรือ ระบบการป้องกันอื่น ๆ ลงใน ไฟล์ Photoshop PDF ได้ ก่อนที่จะส่งต่อ หรือ แจกจ่าย ไฟล์นี้ให้แก่เพื่อนในก๊วน หรือจะเก็บมันลงในสายงาน Adobe PDF ก็ได้ ( แฟ้มที่เก็บไฟล์งานในรูปแบบ PDF ของโปรแกรมต่าง ๆ ในค่าย Adobe) ตัวอย่างเช่น ใน Photoshop คุณใส่ Password ลงไป ผู้ใช้งาน Acrobat 5.0 หรือ Photoshop 7.0 เมื่อจะเปิดไฟล์ภาพ PDF ก็ต้องมีรหัสเสียก่อนจึงจะเปิดไฟล์นั้นขึ้นมาดูได้ ถ้าไม่มีก็หมด สิทธ์ ทำอะไรกับไฟล์ภาพนั้น ตรวจสอบตัวสะกด Photoshop ได้เพิ่มความสามารถ ในการเป็น text editor ลงไป ในโปรแกรมด้วยการเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบตัวสะกดและแก้คำผิดให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งสนับสนุนภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้เปิดเผยว่ามีภาษาอะไรบ้าง ( แต่คงไม่มีภาษาไทย) ซึ่งการตรวจสอบนั้นจะตรวจสอบแค่ text layer เดียวก็ได้ หรือว่าจะตรวจ text layer ทั้งหมดเลยก็ได้ นอกจากการตรวจสอบตัวสะกดแล้ว ก็ยังค้นหา และแทนที่คำได้อีกด้วย เรียกได้ว่าครบเครื่องเลยจริง ๆ ครับ ( ยกเว้นสนับสนุนภาษาไทย - อันนี้ล้อเล่นนะครับ เวอร์ชั่น ใหม่อาจจะใช้ภาษาไทยได้สบายแล้วก็ได้) ประหยัดสตางค์ และเวลาในการพิมพ์ Picture Package ได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยคุณในการพิมพ์ภาพหลาย ๆ ภาพ ในหนึ่งหน้า ประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ Photoshop 7.0 จะทำให้คุณ พิมพ์งานขนาดต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น 8 x 10 นิ้ว , 10 x 16 นิ้ว และ 11 x 17 นิ้ว สามารถเพิ่มฉลาก , คำอธิบาย ลงในงานพิมพ์ได้ เช่น ข้อความแสดงลิขสิทธิ์ , หัวเรื่อง และความ สามารถที่เด็ดที่สุดก็คือ การพิมพ์ภาพเดียวหลาย ๆ ภาพ , ภาพไม่ซ้ำกัน หลาย ๆ ภาพ หรือ พิมพ์แยกเลเยอร์ ลงบนกระดาษแผ่นเดียว
Drop down menu ใน Picture Package dialog box สามารถช่วยคุณเพิ่มข้อความหลาย ๆ แบบ ตามใจชอบ และยังให้คุณพิมพ์ภาพหลาย ๆ ภาพได้ พร้อมทั้งแสดงตัวอย่างให้ดูก่อนอีกด้วย
สร้าง Web Gallery แบบเหนือชั้น Web Gallery ตัวใหม่นี้ได้เพิ่ม Template อันสวยงามเข้าไปอีก มากมาย และเหมาะสำหรับเว็บแทบทุกรูปแบบของคุณ และด้วยเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ ก็ยังทำให้ คุณสามารถใส่ข้อความ , ชื่อไฟล์ , หัวข้อ หรือข้อความแสดงลิขสิทธิ์ ลงบนภาพของคุณ โดยเก็บไว้เป็นลายน้ำได้ด้วย
แก้ไขไฟล์งานต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย Photoshop 7.0 สนับสนุน XMP (Extensible Metadata Platform) ฟอร์แม็ทที่พัฒนาขึ้นมาโดย Adobe เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน ซึ่งสามารถทำงานได้โดยไม่ติดขัดกับทุก Platform ไม่ว่าจะเป็นงานพิมพ์ , เว็บ , ebook หรือสื่ออื่น ๆ XMP ต้องการโปรแกรมของ Adobe อย่าง Photoshop 7.0 , Acrobat 5.0 , Adobe InDesign 2.0 และ Adobe Illustrator 10.0 พร้อมด้วย XML (Extensible Markup Language) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการสร้าง , ประมวลผล , และแลกเปลี่ยนข้อมูลของงานข้ามสายงาน ด้วยการแทรก metadata ลงใน XMP เช่น keyword ที่ได้แทรกลงในไฟล์งาน Photoshop 7.0 Search Engine ต่าง ๆ ภายใน Internet สามารถจะหาไฟล์งานนั้นได้ ดังนั้นงานต่าง ๆ ของคุณ ลูกค้าก็จะสามารถเข้าถึงได้ง่ายจากอินเตอร์เน็ต สำหรับข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับ XMP สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จาก http://www.adobe.com/products/xmp/main.html
สเป็กของเครื่องขั้นต่ำ
Mac OS - Power PC Processor - Mac OS Software เวอร์ชั่น 9.1 , 9.2 หรือ Mac OS X เวอร์ชั่น 10.1.3 - พื้นที่ว่าง ในฮาร์ดดิสก์ไม่น้อยกว่า 320 MB - หน่วยความจำไม่น้อยกว่า 128 MB ( แนะนำว่า 192 MB) - จอมอนิเตอร์ที่ใช้การ์ดจอแสดงผล 16 bit หรือ สูงกว่า - ความละเอียดของจอภาพสูงกว่า 800 x 600 - CD-ROM Windows - CPU Pentium III หรือสูงกว่า ( Pentium 4 จะดีมาก) - Microsoft Windows 98 , Microsoft 98 Special Edition , Windows Millennium Edition , Windows 2000(Service Pack 2), Windows NT 4.0 (Service Pack 6a) , Windows XP - หน่วยความจำไม่น้อยกว่า 128 MB ( แนะนำว่า 192 MB) - พื้นที่ว่าง ในฮาร์ดดิสก์ไม่น้อยกว่า 280 MB - จอมอนิเตอร์ที่ใช้การ์ดจอแสดงผล 16 bit หรือ สูงกว่า - ความละเอียดของจอภาพสูงกว่า 800 x 600 - CD-ROM
6.โปรแกรม PageMaker 7.0
1. Merge Text and Graphic storeed originally in spreadsheets or database
สำหรับในโปรแกรม PageMaker 7.0 ได้มีคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นมา เพื่อรองรับการทำงานด้านการทำจดหมายเวียน หรือเอกสารเวียนที่เนื้อหาเหมือนกัน เพียงแต่เปลี่ยนชื่อผู้รับต่างกัน ซึ่งโดยปกติแล้วการทำจดหมายเวียน จะมีเฉพาะใน โปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์เท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ใช้โปรแกรม PageMaker 7.0 ต่างมีความต้องการคุณสมบัตินี้ เข้ามาใช้งานทางด้านเอกสาร มากขึ้น ดังนั้นทาง Adobe จึงได้พัฒนาเรื่องการ Merge เพิ่มขึ้นมาเพื่อเอาใจแฟนๆ ของ PageMaker
สำหรับเอกสารที่จะนำมา Merge นั้น สามารถนำมาได้ทั้งตัวหนังสือจากโปรแกรมทางด้าน Speadsheet และทางด้าน Database และนอกจากนี้ ยังนำภาพกราฟฟิกเข้ามาใช้ Merge ร่วมกับเอกสารได้ด้วยเช่นกัน งานนี้ แฟนๆ พันธุ์แท้ของ Adobe PageMaker 7.0 คงจะได้นำคุณสมบัตินี้มาใช้งานให้สมใจอยากกันเลย
2. Create and view Adobe Portable Document Format (PDF) files
สำหรับคุณสมบัติอีกตัวหนึ่ง ที่ผู้ใช้งานด้านเรียงพิมพ์ต้องการมากอีกอย่างคือ โปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 สามารถบันทึกไฟล์ไปเป็น PDF (Adobe Portable Document Format) ซึ่งโดยปกติจะมีโปรแกรมที่ สร้างไฟล์เป็น PDF ได้ไม่กี่โปรแกรม
ด้วยเหตุนี้เองโปรแกรม PageMaker เป็นโปรแกรมที่ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นโปรแกรมการเรียงพิมพ์ที่ดีที่สุดโปรแกรม หนึ่ง จึงไม่มองข้ามคุณสมบัติตัวนี้ ( อันที่จริงน่าจะมีมาตั้งนานแล้ว หรือว่ากลัวจะมีปัญหาในเรื่องของลิขสิทธิ์กันอยู่ ก็ไม่รู้) และนอกจากที่จะสร้างเอกสารเป็นไฟล์ PDF ได้แล้ว ยังสามารถที่จะอ่านเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ด้วย เช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการสร้างเอกสารเป็นไฟล์ PDF และต้องการเปิดไฟล์ PDF แล้วหล่ะก็คงจะถูกใจกันมาก เลยทีเดียว
ทั้งนี้เพราะเดิมที หากมีไฟล์ที่เป็น PDF ผู้ใช้จะต้องไปหาโปรแกรม Acrobat มาติดตั้งในเครื่อง เพื่อจะใช้เปิด อ่านเอกสาร แต่สำหรับปีนี้เป็นต้นไป หากผู้ใช้ท่านใดมีโปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 อยู่ในเครื่องและติดตั้ง แบบสมบูรณ์ล่ะก็ สามารถเปิดไฟล์ PDF ได้เลย
3. Easily place Adobe PDF files created with Adobe Photoshop 5.0, 6.0 or Adobe Illustrator 9.0 directly into PageMaker publications
ส่วนท่านที่มีไฟล์ PDF ที่สร้างจากโปรแกรม Adobe Photoshop 5.0, 6.0 และโปรแกรม Adobe Illustrator 9.0 หากต้องการนำมาเปิดในโปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 บอกได้เลยว่า สบายมาก รูปแบบ PDF ที่เคยจัดไว้อย่างไรในโปรแกรม Adobe Photoshop 5.0, 6.0 และโปรแกรม Adobe Illustrator 9.0 เมื่อมาเปิดในโปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 ก็จะมีหน้าตายังไงยังงั้น เรียกได้ว่า เหมือนการโคลนนิงเลยก็ว่าได้
4. Save time by importing native Photoshop and Illustrator files
ขณะที่ หากท่านที่ต้องการนำไฟล์จากโปรแกรม Adobe Photoshop และ Adobe Illustrator มาไว้ใน โปรแกรม PageMaker 7.0 ก็บอกได้เลยว่าง่ายๆ แค่ลากข้อมูลเข้ามาก็เป็นอันเสร็จพิธี โดยข้อมูลที่นำเข้ามาจะได้ รูปแบบที่เหมือนเดิมทุกอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งรูปแบบและการจัดย่อหน้า เพราะอะไรเหรอครับ ก็เพราะว่าเป็น โปรแกรมของค่ายเดียวกัน โอกาสผิดเพี้ยนก็ไม่เกิดขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้ แต่หากนำข้อมูลของค่ายอื่นเข้ามา ปัญหาอาจจะเกิดขึ้นบ้างทั้งการจัดรูปแบบและรูปแบบตัวหนังสือ แต่หากนำข้อมูลที่เป็นเท็กซ์ไฟล์เข้ามา แล้วค่อยมาจัดเรียงในโปรแกรม Adobe PageMaker รับรองได้ว่าโอกาส ผิดพลาดจะไม่มีอย่างเด็ดขาด
5. Use a converter utility to open Quark XPress 3.3-4.1 publication directly in PageMaker
นอกจากนี้ โปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 จะทำอะไรได้หลายอย่างแล้ว สิ่งหนึ่งที่ทาง Adobe ไม่มอง ข้ามไปก็คือ กลุ่มผู้ที่ใช้โปรแกรม Quark XPress3.3 - 4.1 หากต้องการนำมาเปิดในโปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 ทางค่ายของ Adobe ก็ยินดีให้เข้ามาเปิดไฟล์ได้โดยโปรแกรมจะ Converter ข้อมูลให้ โปรแกรม Adobe PageMaker เปิดไฟล์ได้เลย
สำหรับท่านที่ใช้ Microsoft Publisher 95 - 2000 หรือโปรแกรมชุดไมโครซอฟท์ออฟฟิศ สามารถนำเข้ามา เปิดในโปรแกรม Adobe PageMaker ได้เลยเช่นกัน นอกจากที่จะเปิดไฟล์ชาวบ้านได้แล้ว ทาง Adobe PageMaker 7.0 ก็สามารถ Export ไฟล์ เพื่อไปเปิดในโปรแกรม Microsoft Publisher 95 - 2000 หรือ โปรแกรมชุดไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ได้เช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ใช้งาน สร้างข้อมูลที่ไหนก็ได้ แล้วนำมา จัดเรียงในโปรแกรม Adobe PageMaker




ไม่มีความคิดเห็น: